วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

การเลี้ยงโคนมในฤดูร้อน

โดย  คาวบอย  บ้านหมี่
           วันนี้ อากาศร้อน อบอ้าว ยิ่งตอนกลางวัน หลังจากรีดนมเสร็จ ก็ปล่อยโคนมลงแปลงหญ้าธรรมชาติ เราก็เดินดูบ้างลัดเลาะดูหญ้า เปลวแดดเปรี้ยง ๆ ยังดีน๊ะที่เรามีคลองธรรมชาติพอมีน้ำซับไหลซิบ ๆ เอาไว้ให้โคนมของเราได้อาศัยกลิ่นไอ เพื่อระบายความร้อนได้ มานึกถึงฟาร์มอื่น ๆ ที่ไม่มีธรรมชาติมาช่วยอย่างเรา ต้องอาศัยมนุษย์ช่วยทั้งดุ้น ไม่ว่าจะเป็นสปริงเก้อทั้งบนหลังคาฟาร์ม ทั้งพื้นโรงเรือน การฉีดน้ำช่วยก็คงคิดว่าช่วยได้บางส่วนเท่านั้น แต่ความร้อนลึก ๆ ในตัววัวนั้นจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร คาวบอย บ้านหมี่ ก็พอมีความรู้ด้านการเลี้ยงโคนมเชิงวิชาการ พร้อมทั้งอาศัยประสบการณ์ชีวิตที่เกิดมาพร้อมโคนมตัวแรกรุ่นแรกของฟาร์ม จึงอยากจะมาเล่าให้ฟังว่า

     
การเลี้ยงโคนมในช่วงฤดูร้อนนั้น มีเคล็ดลับอย่างไรที่จะทำให้แม่โคนมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม่โคนมที่ให้น้ำนมมากๆ ยังคงให้น้ำนมในปริมาณเท่าเดิมและจะต้องเป็นสัดผสมติดตามปกติ เหมือนในช่วงฤดูอื่นๆไม่ใช่เรื่องยากอุณหภูมิอากาศรอบๆตัวที่แม่โคจะอยู่ได้อย่างสบายคือ 20-25 องศาเซลเซียล ในอุณหภูมิช่วงจะทำให้ขบวนการเผาผลาญอาหารและใช้พลังงานในร่างการดำเนินไปตามปกติ แม้จะมีความร้อนที่เกิดจากการเผาผลาญและการใช้พลังงานขึ้น เมื่ออุณหภูมิของร่างการแตกต่างกับอุณหภูมิภายนอก ร่างกายจึงไม่มีความเครียด เพราะระบายความร้อนได้.แม่โคที่เกิดและเติบโตในเขตอบอุ่น มีความเคยชินกับอุณหภูมิในช่วงร่างกายระบายความร้อนได้ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในฤดูร้อนหรือแม่โคถูกย้ายมาเลี้ยงในเขตร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 20-25 องศาเซลเซียส แต่ในเขตร้อนเมื่อถึงฤดูร้อนทุกๆ อุณหภูมิที่เพิ่มตั้งแต่ 1 องศาขึ้นไป ร่างกายจะเกิดความเครียด และทำให้การให้น้ำนมลดลง .สาเหตุที่ทำให้แม่โคเกิดความเครียดเมื่ออากาศร้อน คือ เมื่อแม่โคกินพืชอาหารสัตว์ ซึ่งมีเยื่อใยสูง ต้องผ่านการหมักและการย่อยที่กระเพาะรูเมน ขณะนี้จะเกิดความร้อนขึ้น โดยเฉพาะแม่โคที่ให้น้ำนมสูง จะกินอาหารเป็นจำนวนมากๆ เพื่อให้เกิดพลังงานเพียงพอจนนำไปใช้สร้างน้ำนม จะเกิดความร้อนในขณะหมักและย่อยมากขึ้นกว่าสภาพของแม่โคที่ให้น้ำนมน้อยหรือปานกลาง ซึ่งมีความต้องการอาหารน้อยกว่าในขณะที่ร่างกายมีความร้อนที่เกิดจากการเผาผลาญ และใช้พลังงาน ถ้าอากาศภายนอกมีอุณหภูมิไม่สูงมาก ร่างกายจะระบายความร้อนทางลมหายใจและเหงื่อ ซึ่งในการระบายความร้อนนี้ก็ต้องใช้พลังงานอีกจำนวนหนึ่ง จึงเกิดความร้อนขึ้นอีก ถ้าร่างกายระบายความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้จะไม่เกิดความเครียด.....แต่ถ้าอากาศภายนอกสูงเกินกว่าร่างกายจะปรับตัว โดยเริ่มจากสมองก่อน เพราะในสมองมีศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ 38 องศา เมื่ออากาศร้อนหรืออุณหภูมินอกร่างกายสูงเกินกว่า 20-25 องศาเซลเซียส ร่างกายจะได้รับความร้อนจากแสงแดดไม่ว่าโดยตรง หรือทางอ้อมจากการนำ การพาและการแผ่รังสี ซึ่งทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นและความเครียดมากกว่า.ส่วนวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น มีทั้งการแก้ไขปัญหาระยะยาว, การแก้ไขปัญหาระยะสั้น และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างรีบเร่ง

.......* * การแก้ไขปัญหาระยะสั้น คือ จัดหาเครื่องทำความเย็น หรือทำให้อากาศรอบๆ ตัว แม่โคเย็นลง ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี เช่น จัดร่มเงา ใช้พัดลม พร้อมด้วยเครื่องพ่นน้ำหรือจัดหาน้ำเย็นให้ดื่ม เป็นต้น
.......* * การแก้ไขปัญหาระยะยาว คือ คัดเลือกแม่โคให้น้ำนมในฤดูอื่นๆไม่แตกต่างกัน มีความสมบูรณ์ พันธุ์ดี ไว้เป็นแม่พันธุ์ จะได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีความเหมาะสมต่อสภาพอากาศในเขตร้อน เป็นการแก้ไขที่ใช้เวลา แต่ถาวรและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
...... * * การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างรีบเร่ง เป็นการแก้ไขปัญหาที่เห็นผลเร็ว แต่เสียเงินมากพอสมควร ผลตอบแทนคุ้มค่า คือ การจัดการ การดูแล และการให้อาหาร