วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ก้าวย่างสู่ AEC กับปัญหาการเลี้ยงโคนมของไทยแลนด์

                                                                                                                            โดย คาวบอย บ้านหมี่
                      การพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมไทยในปัจจุบัน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทุกประเทศมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบมองกลุ่มผู้ผลิต มองกลุ่มผู้แปรรูป มองกลุ่มผู้บริโภค สุดท้ายมองระบบโรจิสติก  แต่บทความนี้คาวบอย บ้านหมี่ ได้ศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ นำมาประกอบกัน พอสรุปให้ท่านได้อ่านรู้ว่าแนวคิดของคนเลี้ยงโคนมที่เป็นห่วงโซ่แรกของอุตสาหกรรมโคนมว่าเขาคิดกันอย่างไร เพราะอีกไม่กี่เราก็จะเข้าเป็นประชาคมอาเซียน เมื่อเข้าสู่ AEC ก็จะกลายเป็นใครเข้มแข็งกว่าก็จะได้เปรียบ ใครอ่อนแอ กว่าก็จะเสียเปรียบ พอที่จะนำบทความทางวิชาการที่มีนักวิชาการหลาย ๆ คนเขียนไว้ โดยจะชี้ให้เห็นเกี่ยวกับปัญหาการผลิตของอุตสาหกรรมโคนมว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาก่อ่นที่จะเข้าสู่ AEC ก็คือ
            1. รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมการผลิตน้ำนม     ให้ได้คุณภาพ คือ เร่งส่งเสริมการให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม ส่งเสริมการวิจัยและเชื่อมโยงงานวิจัยจากนักวิชาการไปสู่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม และส่งเสริมในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ การจัดทำบัญชีฟาร์ม จัดทำสารสนเทศโคนม
            2. เน้นการลดต้นทุนการผลิต การเลี้ยงโคนมที่ประสบปัญหาในปัจจุบันเนื่องมาจาก เรามีต้นทุนในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ต้นทุนมาจากอาหารโคนม คาวบอย บ้านหมี่ มองว่าเราสามารถลดต้นทุนในเรื่องอาหารของโคนมได้ โดยการรวมกลุ่มเกษตรกร ( Cluster ) กลุ่มในที่นี้คือ กลุ่มผู้ผลิต เช่น (กลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงโคนม กลุ่มเกษตรผู้ปลูกมันสำปะหลัง กลุ่มเกษตรผู้ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเกษตรผู้อัดฟางก้อน กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ) หากเราสามารถรวมกลุ่มได้แล้วก็สามารถผลิตอาหารสัตว์ได้ในราคาถูก โดย     อาจจะเชิญนักวิชาการด้านการผลิตอาหารสัตว์มาเป็นวิทยากร ให้ความรู้ในการผลิตอาหารสัตว์ ในที่สุดเกษตรกรก็สามารถลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น