วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนมโค

                                                      ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนม

                 ถ้ารู้ว่าโคตัวใดเป็นโรคเต้านมอักเสบ ต้องทำการรีดหลังโคตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระจายของโรคและ ควรรีดเต้าที่อักเสบทีหลังสุด และให้ระวังการเช็ดล้างเต้านมถ้าโคตัวใด เป็นแผลหรือเป็นฝีที่หัวนม ขณะที่ทำการรีดนมแม่โคอาจแสดงอาการเจ็บปวด อาจทำร้าย คนรีดได้ในกรณีเวลารีดควรแตะต้องแผลให้น้อยที่สุด และควรรีบจัดการรักษาใส่ยาหรือใช้ขี้ผึ้งทา หลังรีดนม เสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดด้วยถ้ามีโคตัวใดนมรั่ว ซึ่งเกิดจากเต้านมคัด ซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อวงแหวนที่รัดรูหัวนมไม่แข็งแรงพอ หรือค่อนข้างเสื่อมสมรรถภาพ กรณีที่ไม่มีแนวทางแก้ไขอาจใช้จุกปิดหรืออุดรูหัวนมหรือใช้วิธีรีดนมให้ถี่ ขึ้น     ก็ได้ถ้าพบว่าแม่โคบางตัว ให้น้ำนมที่มีสีผิดปกติเกิดขึ้นกล่าวคือน้ำนมอาจเป็นสีแดงหรือมีสีเลือดปน ออกมา ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นเลือดฝอยในเต้านมแตก ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ จะค่อย ๆ หายไปเองในไม่ช้า น้ำนม ที่ได้ควรนำไปให้ลูกโคกินไม่ควรบริโภค ถ้าพบว่าแม่โคตัวใดเตะเก่ง ขณะทำการรีดจะต้องใช้เชือกมัดขา ซึ่งควรค่อย ๆ ทำ การฝึกหัดให้เคยชิน โดยไม่ต้องใช้เชือกมัด เพราะวิธีการมัดขารีดนมไม่ใช่เป็นวิธีการที่ดีจะทำให้วัวเคยตัว

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รูปร่างโคนมที่ดี


รูปร่างโคนมที่ดี พิจารณาจากลักษณะหลัก 15 ลักษณะ
1.ความสูง ( Stature ) พิจารณาจากแนวหลัง ( จุดที่ผ่านกระดูกสะโพก ) ถึงพื้นดินขณะโคยืนตรง2.ความแข็งแรง ( Strength ) วัดความกว้างและความลึกของช่วงอก 3. ความลึกของลำตัว ( Body depth ) พิจารณาความยาวที่บริเวณกลางลำตัวจากหลังถึงท้อง4. ลักษณะความเป็นโคนม (Angularity )5. มุมสะโพก ( Rump angle )  6. ความยาวของสะโพก ( Rump length ) 7. ความกว้างสะโพก ( Rump width )8. ลักษณะขาหลังมองด้านข้าง ( Rear leg side view) 9. มุมกีบ (Foot angle )10. 12. ความกว้างของเต้านมหลัง ( Rear udder width ) 12. การเกาะยึดของเต้านมคู่หน้า ( Fore udder attachment ) 13. ความแข็งแรงของเอ็นยึดเต้านมหลัง ( Udder support ) 14. ความลึกของเต้านมหลัง ( Udder depth ) 15. ตำแหน่งหัวนม มองด้านหลัง ( Teat placement rear view )

สะโพกโคนมที่ดี


          

                      ความกว้างสะโพก ( Rump width )   ของโคนมที่ดี


          พิจารณาจากระยะห่างระหว่างปุ่มกระดูกสะโพกซ้ายและขวา โดยปกติจะใช้ความกว้างของกระดูกเชิงกรานเป็นตัวพิจารณา แต่พบว่าความกว้างของกระดูกสะโพกมีความสัมพันธ์อย่างสูงกับความกว้างของกระดูกเชิงกราน และปุ่มกระดูกสะโพกสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่า จึงใช้กระดูกสะโพกพิจารณาแทน ซึ่งให้ผลเหมือนกัน แม่โคที่ดี ควรมีความกว้างของสะโพกหรือความกว้างของกระดูกเชิงกรานมาก ลักษณะนี้มีความสัมพันธ์กับการคลอด พบว่าแม่โคที่มีเชิงกรานแคบกว่ามักจะคลอดยากเมื่อเทียบกับแม่โคอื่น ๆ ที่ให้ลูกขนาดเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภูมิหลัง

         พื้นที่แห่งนี้ เดิมเป็นป่ารกทึบ เนืองแน่นไปด้วยป่าไม้สิงห์สา ลา สัตว์ สัตว์ป่านานาชนิด ตั้งแต่ใหญ่สุด ไม่ว่าจะเป็น ช้างป่า เสือ ระมั่ง มีให้เห็นเป็นประจำ จนถึงเล็กสุดหมูป่า เ้ก้ง อีเห็น กระต่าย และอื่น ๆ อีกมากมาย มีสองผัวเมียคู่หนึ่ง สามีชื่อว่านายสงัด และภรรยาชื่อว่านางชิต  มั่นหมาย หอบลูกน้อยเป็นชายสามหญิงสอง อพยพหนีตายจากโจรในสมัยนั้้นไม่ว่าจะเป็นเสือมเหศวร เสือฝ้าย เสืออ้าย เสือหนอ ที่ออกปล้นสดมภ์อยู่เป็นประจำ โดยอพยพมาจากจังหวัดอ่างทอง หวังว่าจะมาตายเอาดาบหน้า มีชาวบ้านผู้ครอบครองพื้นที่บริเวณนี้ ได้ขายพื้นที่ผืนดังกล่าวให้และ สองผัวเมียภรรยาเล็งเห็นว่าทำเลดังกล่าวมีคลองธรรมชาติไหลผ่าน มีน้ำสอาดตลอดปี พื้นดินเป็นดินดำเหมาะสำหรับทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง ทั้งสองจึงตกลงปลงใจซื้อที่จากชาวบ้านเพื่อตั้งรกรากทันที จากป่ารก ถากถางจนเป็นพื้นที่โล่งเตียนทำมาหากินได้ ด้วยความขยันและใฝ่รู้ของ คุณพ่อสงัด มีแม่ชิดคอยให้กำลังใจอยู่ข้างกาย พร้อมทั้งมีพัฒนากรหนุ่มที่ชื่อแก้ว นีมะเริง พัฒนากรของตำบลชอนม่วงในขณะนั้น มาทำการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้แก่ชาวบ้าน เนื่องจากพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา ดินดี น้ำมีตลอดทั้งปี เหมาะสำหรับการปลูกหญ้าทำเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ จึงตกลงเข้าร่วมโครงการเลี้ยงโคนมของตำบลชอนม่วง การเดินทางเส้นนี้ใช่ว่าจะโรยไว้ด้วยดอกกุหลาบ แต่ท่านทั้งสองต่อสู้อย่างมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ล้มรุกคลุกคลาน หัวเราะบ้าง ร้องไห้บ้าง แต่ก็ด้วยความพยายาม ที่สำคัญกำลังใจที่ได้จากลูกสาวคนเล็กที่ชื่อรัชนีวรรณ  มั่นหมาย ที่คอยให้กำลังใจและฝึกฝนหวังว่าจะเป็นแรงสำคัญของคุณพ่อ คุณแม่ ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างพัฒนาชุมชนที่ชื่อนายแก้ว  นีมะเริง พัฒนากรประจำตำบล ในขรธนั้น เข้ามาให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลา โดยใช้สุภาษิตจีนที่ว่า มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน เงินทองที่ได้จากการปลูกข้างโพด ถั่ว งา ในแต่ละปี ก็ถูกนำมาใช้ในการเลี้ยงโคนม หยาดเหงื่อทุกหยด แรงกายที่แรง ความมุมานะบากบ่วนตลอดระยะเวลา 35 ปี ก็ได้กำเนิด ฟาร์มโคนมขนาดกลางฟาร์มขึ้น ภายใต้ชื่อฟาร์มว่า "รัชนีวรรณฟาร์ม" มาจนถึงปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์เรียนรู้ด้านการเลี้ยงโคนม

               รัชนีวรรณฟาร์ม โดยคุณรัชนีวรรณ มั่นหมาย เจ้าของฟาร์ม ดำเนินกิจกรรมของฟาร์มไม่เพียงแต่รีดน้ำนมขายให้กับสหกรณ์โคนมเท่านั้น แต่ฟาร์มยังมุ่งเน้นให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเลี้ยงโคนม นับตั้งแต่การคัดเลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่ดี การเก็บรักษาน้ำเชื้อ การผสมพันธุ์เทียม การดูแลโคขณะตั้งท้อง จนคลอดและการอนุบาลลูกโคนม สุดท้ายปลายทางเมื่อมีการผลิตน้ำนม ก็จะจบลงตรงขั้นตอนของการตลาด รวมถึงการรวมกลุ่มกันเพื่อให้เกิดอำนาจการต่อรองในรูปแบบของสหกรณ์ ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์เรียนรู้แบบครบวงจรจริง ๆ ในทุกปีรัชนีวรรณฟาร์มจะมีการรับนักศึกษาฝึกงานจากสถานการศึกษาต่าง ๆ นับตั้งแต่ระดับอุดมศึกษา ตลอดลงมาถึงระดับอาชีวะ โดยรัชนีฟาร์มจะมีที่พักพร้อมอาหารสามมื้อฟรีตลอดการฝึกงาน

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รัชนีวรรณฟาร์ม

          รัชนีวรรณฟาร์ม เป็นฟาร์มโคนมขนาดกลาง ที่ตั้งอยู่ริมถนนหนองม่วง- บ้านหมี่ ห่างจากตัวเมืองบ้านหมี่ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี รวม 9 กิโลเมตร ปัจจุบันมีโคนมที่สามารถรีดนมได้ จำนวน 50 ตัว มีวัวรุ่น จำนวน 40 ตัว และมีวัวเล็ก จำนวน 50 ตัว สามารถผลิตน้ำนมส่งสหกรณ์โคนมหนองม่วงได้ประมาณวันละไม่ตำกว่า 1,200 กิโลกรัมต่อวัน บริหารงานโดยนางสาวรัชวรรณ  มั่นหมาย ประธานสหกรณ์โคนมหนองม่วง จำกัด